วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 1 ตุลาคม 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 1 ตุลาคม  2558
    เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง จัดทำสรุปในมาตรฐานที่ 6
มาตรฐานที่ 6 มาตรการส่งเสริม มาตรฐาน
มาตรฐาน
น้ำหนักคะแนน
ผลการประเมินของสถานศึกษา
คะแนนที่ได้
ระดับคุณภาพ
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับ นโยบายทางศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ


5


4.00


ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 ผลที่เกิดจากการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
5
4.00
ดี
                          ผลรวมของคะแนน
10
8.00
ดี
       ผลการประเมินตนเองภายในสถานศึกษามาตรฐานที่ ๖ มาตรการส่งเสริม ได้คะแนน 8.00 อยู่ในระดับ คุณภาพ ดี ผลการประเมินตนเองดังกล่าว เกิดจากความตระหนักและความพยายามในการดำเนินโครงการ/ กิจกรรมของสถานศึกษา ดังต่อไปนี้     
ข้อมูลความตระหนัก
          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง  ได้นำเอานโยบายและจุดเน้นการ ดำเนินงาน ของสำนักงาน กศน. ปี 2558  มาวิเคราะห์สู่การปฏิบัติในพื้นที่ตามศักยภาพ และเป้าหมายในการจัด การศึกษาของสถานศึกษา คือ  การบริการจัดการเรียนรู้โดยใช้ กศน.ตำบลเป็นฐานแห่งการเรียนรู้เป็นศูนย์กลางการประสานงานให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่โดยพัฒนา กศน.ตำบลให้มีศักยภาพและความพร้อมในการบริการ การเรียนรู้แก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง  มีอัตลักษณ์ ตามที่สถานศึกษากำหนด คือ  ใฝ่เรียนรู้สู่การพัฒนา  เพื่อให้เกิดผลในการพัฒนารวมถึงส่งผลถึงเอกลักษณ์ของสถานศึกษาคือ “จัดการศึกษาให้ชุมชนเป็นฐานแห่งการเรียนรู้”จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ  2558  โดยนำนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานจัดส่งเสริม
และสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของสำนักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง  พ.ศ.2555 – 2558  แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2555 – 2558 และข้อมูลจากการประเมินตนเอง ในปีงบประมาณ 2558 ที่ได้เสนอแนะในการพัฒนา ปรับปรุง มาเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินงานของสถานศึกษาให้สามารถดำเนินงานบรรลุผล ตามเป้าประสงค์และ วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ โดยได้จัดทำโครงการศูนย์ฝึกอาชีพเพื่อรองรับจำนวน  38 โครงการ  โครงการเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ จำนวน 19 โครงการ โครงการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 23 โครงการ และโครงการเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน  22  โครงการ หมู่บ้าน/ชุมชน กศน.สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยใช้ชุนชนเป็นฐานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน  50 โครงการ
ข้อมูลความพยายาม
        ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง  ได้นำ เอานโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ของสำนักงาน กศน. ปี 2558 มาวิเคราะห์สู่การปฏิบัติในพื้นที่ตามศักยภาพ และ เป้าหมายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู กศน. เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เกี่ยวกับโครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่สถานศึกษาได้ดำเนินการ และสรุปผลการ ดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและผู้รับบริการ ดังนี้
              1. การจัดการศึกษานอกระบบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กศน.ทุกตำบลได้จัดตั้งกลุ่ม  และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้กับผู้เรียน ทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ  เช่นโครงการศูนย์ฝึกอาชีพ  โครงการเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ  โครงการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และโครงการเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน   โครงการ หมู่บ้าน/ชุมชน กศน.สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยใช้ชุนชนเป็นฐานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับกลุ่มเป้าหมายเป็นการนำนโยบายของรัฐบาลพร้อมการประสานการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน ทั้งประธานชุมชนในเขตเทศบาลและผู้ใหญ่บ้านในระดับท้องถิ่น  ให้เกิดผลการปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนด
                2. การใช้ กศน.ตำบล เป็นสถานี เติมเต็มความรู้ ซึ่งได้ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง  ทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่องการเรียนโดยการใช้คอมพิวเตอร์และสั่งงานทางคอมพิวเตอร์  การจัดทำระบบ Wifi  ให้แต่ละกศน.ตำบล ได้ค้นคว้าหาคำตอบทาง Internet 
                3. การจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและสภาพความเร่งด่วนของชุมชน ใช้หลักการความโปร่งใสในการจัดกิจกรรมจะเริ่มต้นด้วยการจัดประชุมประชาคม เพื่อนำผลที่ได้มาให้นำหนักคะแนนในการจัดกิจกรรมเรียงลำดับความสำคัญ และนำเสนอเป็นลำดับขั้นตอน ตลอดจนเมื่อครบถูกต้อง  สรรหาวิทยากรมาให้ความรู้เพื่อให้ตรงกับความต้องการและบริบทของชุมชน/ท้องถิ่น มีการจัดทำระบบการจัดซื้อจัดจ้างในเรื่องวัสดุปกรณ์ และรวมทั้งค่าวิทยากรในการดำเนินงาน และการออกใบประกาศสำหรับผู้ที่สำเร็จในแต่ละหลักสูตร
                  4. การนำภาคีเครือข่ายมาเป็นส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม  มีการประสานและจัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์โดยผ่านขั้นตอนกระบวนการที่ชัดเจน  ทั้งเรื่องการนิเทศและมาร่วมในการเปิดการอบรมและการใช้สถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ตำบลทุ่งฝาย และตำบลนิคมพัฒนา
                  5 การสร้างความเข้าใจกับกรรมการสถานศึกษาโดยการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อทำความเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเอง
                  6. การพัฒนาครู กศน.ตำบลให้สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยครูทุกคนได้จัดทำแผนการปฎิบัติงานและส่งผลการปฏิบัติงานทาง  Blogger เป็นการบันทึกผลการทำงานทุกวัน
                 7. การดำเนินการจัดคูปองการศึกษา  หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นฐาน พุทธศักราช  2551 เพื่อดำเนินการขอสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก ทางการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน โดยแยกเป็นกลุ่มโซน
                8. การปรับปรุงหลักสูตรแกนกลาง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาในเรื่องการศึกษาต่อเนื่องการจัดทำหลักสูตรอาชีพเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย และได้จัดกิจกรรมการเข้าค่ายค่านิยม ๑๒ ประการ ในการสร้างความสมานฉันท์ และการมีความพร้อมการเข้าสู่อาเซียนการอบรมภาษาจีน นโยบายการบริหารจัดการ การดำเนินงาน กศน.อำเภอเมืองลำปาง โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา  โครงการพัฒนาระบบนิเทศ กำกับติดตามจัดการศึกษา  โครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  โครงการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา   โครงการปรับปรุงอาคารสถานที่และการพัฒนาบุคลากรการกำกับติดตามงานอย่างต่อเนื่อง  โดยการนำเทคโนโลยีสารสานเทศมาใช้  ในการกำหนด Line  กลุ่ม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง เพื่อติดตามงานและให้ข้อเสนอแนะดำเนินงานได้ทันเหตุการณ์บางครั้งผู้บริหารจะไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้น  นอกจากนี้ การแจ้งข่าวทาง Face Book ของ กศน.ได้จัดทำไว้ทั้ง 19  ตำบล และการรายงานการจัดกิจกรรมต่างๆของอำเภอเมืองลำปาง  Website http ://www.  202.143.134.14 การจัดประชุมเพื่อติดตาม
การทำงานและสรุปการทำงานของบุคลากร  จัดประชุมติดตาม  ตรวจสอบ ทบทวน วิเคราะห์ข้อมูลการประเมินตนเอง 2 ครั้ง และรอบ 12 เดือน ใน วันที่  21 กันยายน 2558 หลังจากการจัดกิจกรรมมีการจัดหาเอกสารรายงานผลการดำเนินงาน และดำเนินการประเมินโครงการ เพื่อต้องการทราบผล ว่าการดำเนินงานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคของการดำเนินโครงการไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป
หลักฐานการประกอบการดำเนินงาน
1.เอกสารแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2558 ข้อเสนอแนะจาก สมศ.ผลการประเมินตนเองประจำปี 2557
2.เอกสารสรุปผลการดำเนินงาน ประจำปี 2558
3. เอกสารรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา 2558
4. รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนผลการประเมินตนเองในแต่ละมาตรฐาน
5. รายงานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา
6. รายงานการประเมินโครงการต่างๆ เช่นรายงานการประเมิน โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา
7. รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
8. รายงานผลการอบรมภาษาอังกฤษ
9. รายงานผลโครงการต่างๆของกศน.อำเภอ และกศน.ตำบล
10. Google  Blogger  กศน.ตำบล
11. Face Book  กศน.ตำบล กศน.อำเภอ
12. Best practice กศน.อำเภอเมืองลำปาง  to be number one
13. บันทึกข้อตกลง สำนักงาน กศน.จังหวัดลำปาง และ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปาน  กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/ประธานชุมชน
สรุปผลการประเมินตนเองในมาตรฐานที่ 6
           จากการประเมินตนเองของสถานศึกษาในมาตรฐานที่ ๖ พบว่าสถานศึกษา บรรลุตามเป้าหมาย
ความสำเร็จของมาตรฐานที่ 6 ที่กำหนดไว้ โดยมีจุดเด่น จุดควรพัฒนาและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ดังนี้
จุดเด่น
1.  การวางแผนการดาเนินงานประจำปี กศน.อาเภอ ร่วมกันนาผลการประเมินตนเอง ข้อเสนอแนะ
ผลการประเมินตนเอง  ( SAR ) และผลการ ประเมินคุณภาพภายนอก ข้อเสนอแนะ สมศ. มาพิจารณา
ร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข โดยกำหนดงาน/โครงการ/กิจกรรมรองรับ และมีการกำหนดเป้าหมาย/ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
     2.  มีการประเมินโครงการ เพื่อต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคของการดาเนินโครงการ นาไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการดาเนินงานต่อไปอย่างต่อเนื่อง
     3. ถานศึกษาดาเนินโครงการหมู่บ้านสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่เน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีแผน/แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนที่ชัดเจน มีกิจกรรมอย่างหลากหลาย ทุกงาน ทุกกิจกรรมที่จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดองค์ความรู้ในหมู่บ้านที่คัดเลือกอย่างต่อเนื่อง
      4. ชุมชนสามารถขับเคลื่อนโครงการ/ กิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้ เช่น โครงการ การทำจักสานตะกร้าจากปอฟาง  กศน.ตำบลเวียงเหนือ  ที่ชุมชนสามารถขยายการผลิต และการเรียนรู้ในชุมชน จนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่น  การทำผ้าทอมือบ้านชัยมงคล  กศน.ตำบลนิคมพัฒนา ไร่นาสวนผสม คุณ คณิต  กันทะตั๋น  หมู่ 1 บ้านทุ่งฝาย
จุดควรพัฒนา
1.  ควรดำเนินการจัดทาบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและ บุคลากร กศน.ตาบล กับผู้เรียนและประชาสัมพันธ์ วิธีปฏิบัติจัดทำบันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานสนับสนุน และหน่วยงานอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
    2. ควรมีการประเมินผลกระทบต่อคุณภาพของสถานศึกษาตามนโยบายทางการศึกษาของกระทรวง
ศึกษาธิการ
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
       ควรศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดหรือส่งเสริมการเรียนรู้จากปัญหาความต้องการพัฒนาของชุมชนในการเรียนรู้และช่วยกันแก้ปัญหาชุมชนจึงมองเห็นผลที่เกิดจากการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างชัดเจนเป็นระบบ  โดยใช้รูปแบบการวิจัยชุมชน
     หลังจากที่ส่งสรุปให้อาจารย์สุมลมาลย์   ก้าวกสิกรรม  เสร็จได้นัดหมาย  กับครูอาสาสมัครฯนางทิพย์วรรณ   เขมะจารีย  และพนักงานราชการครู กศน.ตำบลบ้านแลงและตำบลบุญนาคพัฒนาเรื่องการรายงานตัวในการเข้าพื้นที่วันที่ 2 ตุลาคม 2558 โดยการขออนุญาตการใช้รถของศูนย์ กศน.อำเภอเมืองลำปาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น