วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แผนการปฏิบัติงาน ระหว่าวันที่ 30 พฤสจิกายน 2558 ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558


แผนการปฏิบัติงานรายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม  2558

แผนการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ครูอาสาสมัครฯ กศน.อำเภอเมืองลำปาง
ระหว่างวันที่     30 พ.ย.58 ถึงวันที่  6 ธันวาคม  พ.ศ. 2558

วัน/ เดือน /ปี
กิจกรรมที่ปฏิบัติ/เรื่อง
พื้นที่ปฏิบัติ
หมายเหตุ
30 พ.ย2558
เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง ชมรายการถ่ายทอด   ETV โดย นายสุรพงษ์ จำจด เลขาธิการ กศน.
ต.บ่อแฮ้ว

1 ธ.ค..2558
เข้า พื้นที่.ตำบลกล้วยแพะ สอบถามผู้ไม่รู้หนังสือ บ้าน หมู่ 3 หมู่ 5 เยี่ยมบ้านนักศึกษา หมู่ 3       เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง
ต.กล้วยแพะ

ต.บ่อแฮ้ว
2 ธ.ค..2558
เข้า พื้นที่ตำบลกล้วยแพะ นำเอกสารใบสมัครการเรียนวิชาชีพต่อเนื่องการเรียนบายศรี และขนมไทย ไปให้กลุ่มต่อยอด หมู่ 3 และหมู่ 5 
ต.บ่อแอ็ว

3 ธ.ค.2558
เข้า พื้นที่ตำบลกล้วยแพะ  และประสานเจ้าของฟาร์มเห็ดเพื่อจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ บ้านกล้วยม่วง
ต.กล้วยแพะ

4 ธ.ค.2558
เข้าพื้นที่ กศน.ตำบลกล้วยแพะ ติดตามประสานการจัดกิจกรรมเทอดพระเกียรติจุดเทียนชัย บ้านกล้วยกลาง
ต.กล้วยแพะ

5 ธ.ค..2558
วันหยุด เตรียมการเรียนการสอน


6 ธ.ค..2558
พบกลุ่มนักศึกษา กศน.ตำบลกล้วยแพะ ระดับประถมม.ต้น ม.ปลาย
ต.กล้วยแพะ

บันทึกประจำวัน วันที่ 29 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 29   พฤศจิกายน  2558
       เข้าพื้นที่ ตำบลกล้วยแพะ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิธีการแบบพบกลุ่ม นักศึกษาทั้ง 3ระดับ
สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ในระดับ ประถม ม.ต้น และ ม.ปลาย ในเรื่องกิจกรรมเสริมเรื่องสถานศึกษาสีขาวให้นักศึกษาจัดทำความสะอาดบริเวณห้องเรียนปิดเปิดประตู แจ้งกิจกรรมวันพ่อการจุดเทียนชัยถวายพระพรนักศึกษาร่วมจัดที่บ้านกล้วยกลาง  และมอบหมายงาน กรต.
       ช่วงเย็นร่วมรับฟังสวดในงานไหว้สาพระอริยสงฆ์เจ้าหลวงพ่อเกษมเขมโก ณ สุสานไตรลักษณ์ประตูม้า  ตำบลเวียงเหนือ  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง  กับภาคีเครือข่ายและประชาชนทั่วไป

อธิบายเนื้อหารายวิชาคณิตศาสตร์
ร่วมรับฟังสวดพระอภิธรรมงานไหว้สาพระอริยสงฆ์เจ้าหลวงพ่อเกษมเขมโก
 

บันทึกประจำวัน วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวัน  วันที่  28 พฤศจิกายน  2558
      จัดเก็บแบบสอบถามงานไหว้สาอริยสงฆ์เจ้าหลวงพ่อเกษมโก   ณ บริเวณสุสานไตรลักษณ์ ประตูม้า ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และจัดเก็บเอกสารบริเวณส่วนจัดนิทรรศการ ของหลวงพ่อเกษม ได้รับความร่วมมือจากการเก็บแบบสอบถามเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามเป้าหมายที่วางไว้
จุดชมนิทรรศการ

อธิบายชี้แจงแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้กรอกข้อมูล
ทีมงานที่ร่วมกันเก็บข้อมูล



บันทึกประจำวัน วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวัน  วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558
    เข้าพื้นที่ ตำบลกล้วยแพะ ไปประสานและติดตามบ้านหนังสืออัจฉริยะ พร้อมถ่ายรูปเจ้าของบ้านที่่อ่าน หมู่ 4  บ้านหัวฝาย  หมู่ 2 บ้านประสบสุข หมู่ 5 บ้านกล้วยกลาง  โดยทั้ง 3 แห่ง เจ้าของบ้านทั้งหมด3แห่งและเจ้าของบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ได้ถ่ายรูปและสอบถามความต้องการเพื่อยืนยันการให้บริการเหมือนเดิม
    เข้า กศน.ตำบลนักศึกษามาปรึกษาเรื่องการแข่งขันกีฬากับ กศน.บ้านแลง ซึ่งได้จัดแข่งขันโดยไม่มีกิจกรรมกพช.เข้ามาเกี่ยวข้องเพราะนักศึกษาจัดร่วมกับอาจารย์สมพงษ์ที่จัดทำที่ผ่านมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558  และในวันที่ 29  พฤศจิกายน  2559 จะจัดแข่งขันที่ โรงเรียนกล้วยหลวงวิทยา ซึ่งครู กศน.ตำบลกล้วยแพะไม่ได้เกี่ยวข้องได้ทำความตกลงร่วมกับนักศึกษาในเบื้องต้น และให้ข้อคิด คำแนะนำในการแข่งขันควรเน้นควาสามัคคี  แพ้ ชนะเป็นเรื่องรอง
เจ้าของบ้านหนังสือ บ้านหัวฝาย หมู่ 4
เจ้าของบ้านหนังสือ หมู่  5 บ้านกล้วยกลาง
เจ้าของบ้านหนังสือ บ้านประสบสุข หมู่ 2 

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 26 พฤศจิกายน 2558





[
บันทึกประจำวัน วันที่ 26 พฤศจิกายน  2557  เข้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง จัดทำกิจกรรมเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการจัดตกแต่งพระบรมฉายาลักษณ์ ต่อจากวันที่ 25 พ.ย. 2558ไว้ด้านหน้า กศน.อำเภอเมืองลำปาง  และจัดพิมพ์งานเข้าระบบสำนักงาน กศน. บ้านหนังสืออัจฉริยะ และรายชื่อคณะกรรมการสถานศึกษา

งานเสร็จตามที่วางแผนไว้








วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 25 พฤศจิกายน  2558
            ร่วมกิจกรรม วันวชิราวุธ   วันกำเนิดลูกเสือไทย ผู้จัดตั้งพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ค่ายลูกเสือจังหวัดลำปางหนองกระทิง   มีหน่วยงานราชการที่มาร่วมพิธีในกิจกรรมครั้งนี้จำนวน 900 คน ประธานในพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง  นายสามารถ   ลอยฟ้า  กิจกรรมร่วมบำเพ็ญประโยชน์ ทางกศน.อำเภอเมืองลำปางได้ร่วมเก็บกวาดขยะภายในบริเวณค่ายลูกเสือ
ประธานเดินตรวจแถว และรับการตรวจเยี่ยมจากผุูบังคับกองลูกเสือ


ลูกเสือ กศน.ถ่ายรูปร่วมกันก่อนบำเพ็ญประโยชน์

ถ่ายรูปร่วมกับคณะและผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง

กลับเข้าสำนักงาน กศน.อำเภอเมืองลำปาง จัดทำกิจกรรมเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคม  2558  โดยการจัดทำตกแต่งป้ายผ้าพระฉาลักษณ์ บริเวณด้านหน้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง 



จัดตกแต่งผ้าเพื่อเทอดพระเกียรตินายหลวงวันที่ 5 ธันวาคม  2558
      แก่ไขข้อมูล จำนวนนักศึกษาและจำนวนกลุ่มอาชีพทักษะชีวิต จำนวน ตัวเลขและจำนวนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าระบบบริหารจัดการของสำนักงาน กศน.                                    




แก้ไขข้อมูล เซ็กระบบของตนเอง





บันทึกประจำวัน วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 24 พฤศจิกายน  2558
       เข้า กศน.ตำบลกล้วยแพะจัดทำ บอร์ดแผน /ผลการปฏิบัติงานมครู กศน.ตำบล เข้าเยี่ยมบ้านนักศึกษา บ้านหัวฝาย แต่นักศึกษาไม่อยู่ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลกล้วยแพะ บ้านกล้วยหลวง
ได้รับ กศน.อำเภอเมืองลำปาง ให้เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง เพื่อคีย์ข้อมูลระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการ แผนรับรองการปฏิบัติราชการ ตามที่ได้รับรหัสของแต่ละ กศน.ตำบล การคีย์ข้อมูล ต้องคีย์ให้ครบตามที่แบบกำหนด โดยก็ไปศึกษาจากเอกสารและนำมากรอกข้อมูล   จากนั้นได้จัดทำตามที่ศึกษาแต่บางครั้ง Net ก็มีปัญหา หลุดไปช่วงระยะ ต้องกลับมาทำใหม่ การคีย์ข้อมูลบางครั้งใส่จำนวนไม่ครบ ข้อมูลติดลบ ต้องกลับไปดูข้อมูลตั้งแต่บรรทัดแรกและแก้ปัญหาทีละจุด ก็สามารถทำได้ 


บันทึกประจำวัน วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวัน  วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558
  เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง จัดทำแก้ไขงานของตนเองเรื่องกลุ่มวิชาชีพต่างๆ และรับชมรายการถ่ายทอดการประชุมชี้แจง จากเลขาธิการ กศน. นายสุรพงษ์    จำจด สาระของการประชุม -
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินของสำนักงานกศน.เพื่อให้เป็นไปเทิศทางเดียวกัน โดยมี มีผู้บริหารเข้าร่วมต่ำกว่า 1,000 คน ผู้อำนวยการทุกจังหวัด   ผู้อำนวยการกศน.ทุกแห่งโดย
1.กรอบยุทธศาตร์ ปี 59 การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย  กลุ่มเป้าหมายไปสร้างความเข้มแข็งให้เข้า เช่นสร้างความรู้ ความเข้าใจกับเข้า  ให้กับคณะกรรมการกศน.ตำบล
2 งบประมาณ  หมวดอุดหนุน  เงินเดือน หมวดต่างๆ มาแล้ว  ซึ่งจะนำเอานโยบายของรัฐบาลสู่กรอบ
แผนเป็นหลักในการปฏิบัติงาน  การชี้แจงแผนปี 59 มี 2 แบบ
      แบบที่ 1  ตัวกรอบงานในเชิงปริมาณ งานปกติมีอะไรบ้าง
      แบบที่ 2 โครงการที่สำคัญต้องทำร่วมกันในปีงบประมาณ 59 รวมเป็นปฏิทินแผนการปฏิบัติงานประจำปี
นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกะทยวงศึกษาธิการ (พลเอกดาวพงษ์  รัตนสุวรรณ)  ที่เกี่่ยวกับสำนักงานกศน.   
 1. การแปลงพระราชดำรัสเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไปเป็นแผนงานโครงการ
 6. การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร
 8. การแก้ไขปัญหาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
 9. การแก้ไขปัญหาการทุจริต
 18. จัดโครงการติวเข้มเติมเต็มความรู้
 19.จัดโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย
 20.ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
 21.ให้กศน.ตำบลเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเชื่อมประสานระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
 24. การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
กรอบคิดการจัดการศึกษาตลอดชีวิต โดยใช้กศน.ตำบลเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่รับผิดชอบ  คือ
-  ช่วงอายุ 15-59 ปี  ผู้พลาดและขาดโอกาส   
-  และอายุ  60 ปีขึ้นไป รวม 50 ล้านคน    กลุ่มพิเศษ  เช่น ชาวไทยภูเขา  ออกกลางคัน
-  ผู้ไม่รู้หนังสือ  ล้านแปด คน แต่กศน. สำรวจ สานแสน  แต่ปีนี้ แปดหมื่นคน คือเป้า  แต่สามารถทำเกินเป้าได้
-- ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ  ยี่สิบเจ็ดล้านคน  ไม่จบ 9 ปี และ 12 ปี  รวม 36 ล้านคน 
   1. อายุ 15 ปี ขึ้นไปที่ไมีจบการศึกษาภาคบังคับ    จำนวน 27,318,600 คน
   2. อายุ 15 ปีขึ้นไปที่ไม่จบการศึกษาชั้นพื้นาน  จำนวน 9,786,700 คน
จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ   ฉบับบที่ 11  พ.ศ. 2555  -  2559   และในปี 2556  สถิติแห่งชาติประเมิน   การอ่านคนไทยอยู่ 37 นาที ต่อคน ต่อ ปี คิดเป็นเปอร์เซนต์อยู่ที่ร้อยละ 81.1  ทำให้มีความยากจน  ขาดทักษะชีวิต   คุณภาพการศึกษาต่ำ สังคม เหลื่อมล้ำทาง  ขาดความสามัคคี (ควรใช้การศึกษาตลอดชีวิต)
- ในส่วนของการศึกษาระดับชาติ   ควรสังคมแห่งการเรียนรู้ชีวิต   ทำให้คนคิดเป็น  รักการอ่าน ทำให้ประชาชนมีความเพียง  รู้จักแสวงหาความรู้  สืบค้นเป็น เข้าหาสื่อ  มีจิตสาธารณะ
-  ระดับชุมชน  ชุมชนเข้มแข็ง
งานกศน. ประกอบด้วย  งานการศึกษาตามอัธยาศัย   หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  หลักปรัชญา คิดเป็น (ดร.โกวิทย์  รัตนพิพัฒน์)  คนคิดเป็นคือ คนที่มีความสามารถหรือศักยภาพในการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆได้
ความเชื่อ
1.
มนุษย์มีความเชื่อและความคิดที่แตกต่างกัน
2. มีความต้องการที่เหมือนกัน  คือความสุข
3. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม สามารถอยู่ร่วมกันได้
ข้อมูลมี 3 ประเภท
1. ข้อมูลตนเอง
2. ข้อมูลวิชาการ
3. ข้อมูลทางสังคม ปัจจุบันข้อมูลที่นำมาใช้ส่วนใหญ่ คือ ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลทางสังคม แต่ขาดการนำข้อมูลของตนเองมาใช้  ดังนั้นให้ กศน. จัดการเรียนการสอน การทำบัญชีครัวเรือน  และ
      การศึกษาพื้นฐาน  เป้าหมาย ยกระดับการศึกษาของคน  จากระดับ   ประถม ----------มัธยมศึกษาตอนต้น -------------------มัธยมศึกษาตอนปลาย   ทำได้ 2 วิธี 
1. มาเรียนเอาตรง  แยกเป็นวิธีเรียน เช่นพบกลุ่ม ทางไกล โดยสื่อบุคล   สื่อแบบเรียน สื่อที่ดีที่สุดคือสื่อที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี  วิทยุ  โทรทัศน์  หรือ ETV  ต้องใช้คำถามประเด็นปลายเปิดที่ครูต้องตั้งไปสร้างเป็นภาพ  
2. และเรียนอ้อม  (มีการประเมิน) ไม่ได้มุ่งวุฒิเป็นตัวตั้ง  เพียงเอาความรู้ไปพัฒนาความรู้ พัฒน ทักษะชีวิต  ประกอบอาชีพ เช่น อาชีพ  เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เอาความมั่นคงอาชีพเป็นตัวตั้ง  ท้ายสุดให้กศน.ตำบลออกแบบ    การศึกษาต่อเทียบโอนต่อเนื่อง  ให้คนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต  เป้าหมายมี 4 เรื่อง
1.อาชีพพื้นฐาน  ช่างในบ้านมีอะไรบ้างสอนในนั้นแหละ เช่น แอร์ ไฟฟ้า  การซ่อมสามารถเป็นอาชีพได้เช่นกัน
2. ต่อยอดอาชีพเดิม  เช่น พิษณุโลก  กล้วยตาก เขามีการต่อยอดแพ็กกิ่ง จนเป็นที่ยอมรับ
3. ทักษะชีวิต  เช่น ความสามารถในการตัดสินใจ  (ใช้หลักการจัดของยูเนสโก  10 ประการ)
4. พัฒนาสังคมและชุมชน  สร้างให้คนเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
5. เทคโนโลยีที่เหมาะสม  ต้องการให้คนเรียนรุ้ปรับตัวเข้ากับเทคโนโนโลยี  เพื่อให้เกิดประหยัดพลังงาน  มาจาก ภูมิปัญญา + ภูมิปัญญา  เป็นเทคโนโลยี  เรื่องโลกร้อน  การเก็บพืชผล ลดต้นทุน  กศน.ควรสอนให้คนรู้จักใช้  จัดผ่านกิจกรรมกศน.อยู่ 3 แแบ 
6. การฝึกอบรม    สามารถจ่ายค่าอาหารได้ 
-  กลุ่มสนใจ  คือ  การจัดวิชาชีพ ทักษะวิชาชีพให้จ้ดระยะสั้น ไม่เกิน 30 ชั่วโมง  ให้เบิกค่าวัสดุได้ 
หรือจะจัดทักษะชีวิตเป็นกลุ่มสนใจ ก็สามารถทำได้


 
ข้าราชการ  คณะครูร่วมรับฟังนโยบาย จากเลขาธิการ กศน. นายสุรพงษ์  จำจด



และในภาคบ่าย  ร่วมประชุมงานหลวงพ่อเกษม   เรื่องการเก็บข้อมูลที่ แต่ละบุคคลได้เซนทราบตามที่แบ่งกลุ่ม จากนั้นหัวหน้า กลุ่มจัดฯ อาจารย์ยุรัยยา  ให้ ครูรายงานข้อมูลทางบล็อคเป็นปัจจุบันด้วยการคีย์ข้อมูล  ให้คีย์ตามรหัสผ่านเข้าระบบถึงวันที่ 30 พ.ย.59

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกหลังสอน วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558

บันทึกหลังสอน   วันที่  22  พฤศจิกายน   2558
         การเตรียมการเรียนการสอนในวันที  21  พฤศจิกายน  2558 ที่ผ่านมามีหลากหลายวิชาที่ต้องมีการวางแผนเพื่อสอนนักศึกษาในวันนี้
อาจารย์นาตยา  ทุนกุลได้มานิเทศการเรียนการสอนพร้อมทั้งให้คำชี้แนะสำหรับนักศึกษาในเรื่องการเรียนการสอนและแนะนำให้นักศึกษาหากมีโกาสให้เรียนต่อให้สูงที่สุดตามความสามารถของตนเองเพื่อพัฒนาและเพิ่มประสบการณ์ให้กับตนเองโดยการยกตัวอย่างการเรียนต่อของตนเองเพิ่่อให้ได้ตำแหน่งที่สูงขึ้น   นอกจากนี้ยังได้ตอบข้อซักถามต่างๆที่นักศึกษาสอบถามและสงสัย
การเรียนการสอน นักศึกษาระดับประถมศึกษา รายวิชาคณิตสาสตร์ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ       
   - ครูใช้วิธีการสนทนา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เรียนในเรื่องการคิดและคำนวณตัวเลขต่างๆ พร้อมทั้งอธิบายเนื้อหาและให้ทดลองทำแบบฝึกหัด การเรียนการสอนเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุใช้กิจกรรมคำถามนำการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุการปลี่ยนแปลงด้านสังคมของผู้สูงอายุ  ครูมอบหมายงานกรต. ทั้งรายวิชาคณิตศาสตร์ ทบทวนทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม  การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจัดทำสรุปบันทึกการเปลี่ยนด้านต่างๆของผู้สูงอายุ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การเรียนคณิตศาสตร์ ได้ทบมวนความรู้เดิมของนักศึกษาใช้วิธีสุ่มตัวอย่างด้วยการตั้งโจษตัวเลข และให้ทำบนกระดานผู้เรียนตอบถูกแต่วิธีการทำไม่ถูกถือว่าผู้เรียนมีพื้นฐานอยู่แต่ได้ปรับวิธีการจากนั้นได้อธิบายวิธีการเรียนและสอนเนื้อหาใหม่  มอบหมายงานให้ทำแบบฝึกหัดผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างเพื่อนและช่วยกันทำ  วิชาทักษะการเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเอง องค์ประกอบของการเรียนรู้ กระบวนการมอบหมายงานให้ทำใช้กิจกรรมการแบ่งกลุ่มร่วมสรุปเนื้อหาตามใบงาน และนำเสนอครูอธิบายเพิ่มเติม  ครูให้ผู้เรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในตำบลเพื่อนำมาจัดทำทำเนียบแหล่งเรียนรู้ การเรียนการสอนเรื่องของศิลปะ ให้ผู้เรียนเล่าสิ่งที่ตนเองเห็นและชอบเกี่ยวข้องกับศิลปะอย่างไร ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้ออกแบบชิ้นงานและนำส่งในครั้งต่อไป เรื่องของสุขภาพรายวิชาสุขศึกษาเตือนนักศึกษาให้ดูแลสุขภาพ  ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาคณิตศาสตร์เรื่องระบบจำนวนจริงได้ทบทวนความรู้พื้นฐานโดยการซักถามเรื่องระบบคณิตศาสตร์ที่นักศึกษาทราบและรู้จัก จากนั้นใช้วิธีการสอนเนื้อหาอธิบายและสอนโดยการให้ฝึกปฏิบัติจริงนักศึกษายังไม่เข้าใจเท่าที่ควรต้องอธิบายซ้ำหลายๆครั้ง จนนักศึกษาเข้าใจจึงให้ทำแบบฝึกหัดและมอบหมายให้ทำกรต.สำหรับรายวิชาการเพาะเห็ดฟางนักศึกษาได้ตกลงร่วมกันว่าจะจัดทำในเรื่อง การปฏิบัติจริงในการเพาะเห็ดฟางและจัดทำในราวเดือนธันวาคม หรือ มกราคม ในระยะนี้ให้จัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดทำไว้ก่อน และนัดหมายให้ไปจัดทำในบ้านที่มีแหล่งเรียนรู้ของตำบลกล้วยแพะบ้านหมู่ 4 บ้านหัวฝาย เรื่องของวิกฤตภัยธรรมชาติได้สอดเนื้อหาเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินรายวิชาสุขศึกษาสอดแทรกเรื่องของสถานศึกษาสีขาว  การไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดของนักศึกษา กศน.ตำบลกล้วยแพะและได้ให้นักศึกษาไปคิดคำขวัญเรื่องของยาเสพติด  สรุปในแต่ละรายวิชาครูได้มอบหมายงาน กรต.ให้นักศึกษาไปจัดทำและนำมาส่งในสัปดาห์ต่อไป
ปัญหาการเรียนการสอน
-          ปัญหาที่พบเรื่องของแบบเรียนรายวิชาเลือกมีไม่เพียงพอ
-          นักศึกษาขาดการพบกลุ่มเนื่องจากช่วงของฤดูกาลเก็บเกี่ยวไปเกี่ยวข้าว
แนวทางการแก้ไข
-          จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยี่สารสนเทศให้มากขึ้น ใช้ WIFI ที่มีอยู่ใน กศน.ตำบล
-          จัดการเรียนการสอนให้หลากหลายมากขึ้น

-          ให้มารับงานและนำไปจัดทำพร้อมนำมาส่งในอาทิตย์ต่อไป
การเรียนการสอนได้สอดแทรกเรื่องของยาเสพติดและวางแผนในการจัดกิจกรรม


วิชาคณิตศาสตร์ผู้เรียนตั้งใจฟังและสอบถามเพิ่มเติมครูจึงอธิบายเพิ่มเติม


ผู้นิเทศจาก กศน.อำเภอเมืองลำปาง นางนาตยา ทุนกุล  ตำแหน่ง ครู ได้คำแนะนำและตอบคำถามพร้อมข้อชี้แจงต่างๆและได้ให้ความรู้ในเรื่องการศึกษาต่อให้เพิ่มวุฒิสูงขึ้นเพื่อพัฒนาตนเอง




บันทึกประจำวัน วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 22  พฤศจิกายน   2558
    จัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักศึกษา กศน.ตำบลกล้วยแพะ ระดับประถม ม.ต้น และม.ปลาย นักศึกษาในวันนี้มีนักศึกษามาเรียนเป็นจำนวนน้อยเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ทางการเกษตร ส่วนใหญ่มาขอรับงานไปทำและฟังครูอธิบายชี้แจงคนละประมาณ 20 นาที  จึงขอตัวกลับเนื่องจากไปดูแลคนที่จ้างมาร่วมร่วมเก็บเกี่ยวข้าว  นักศึกษาที่สามารถมาเรียนได้ครูได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ   และมีผู้นิเทศจาก กศน.อำเภอเมืองลำปางไปนิเทศให้คำแนะนำ นักศึกษา นางนาตยา  ทุนกุล   ตำแหน่ง ครู

แผนการปฏิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่ 23 - 29 พฤศจิกายน 2558

แผนการปฏิบัติงานรายสัปดาห์

แผนการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ครูอาสาสมัครฯ กศน.อำเภอเมืองลำปาง
ระหว่างวันที่     23 - 29  พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


วัน/ เดือน /ปี
กิจกรรมที่ปฏิบัติ/เรื่อง
พื้นที่ปฏิบัติ
หมายเหตุ
23พ.ย.2558
เข้า พื้นที่ ตำบลกล้วยแพะประสานติดตามการจัดทำกิจกรรม กลุ่มผู้สูงอายุ บ้านกล้วยม่วง/ติดตามเยี่ยมบ้านนักศึกษา
ต.กล้วยแพะ

24  พ.ย.2558
เข้า พื้นที่.ตำบลกล้วยแพะ ประสานกลุ่มที่มีความสนใจเรียนช่างประเภทต่างๆ
ต.กล้วยแพะ

25  พ.ย.2558
เข้า ร่วมกิจกรรม ลูกเสือ ค่ายลูกเสือจังหวัดลำปาง หนองกระทิง
ต.บ่อแอ็ว

26  พ.ย.2558
เข้า พื้นที่ตำบลกล้วยแพะ เยี่ยมบ้านนักศึกษา หมู่ 3 บ้านกล้วยฝาย และประสานประธานกลุ่มไทลื้อ เรื่องค่าไฟฟ้า ของกศน.ตำบลกล้วยแพะ
ต.กล้วยแพะ

27 พ.ย.2558
เข้าพื้นที่ กศน.ตำบลกล้วยแพะ ติดตามประสานการจัดการประชุมประชาคมกลุ่มอาชีพต่อยอด อาชีพน้ำพริกหมู่ 4 บ้านกล้วยม่วง
ต.กล้วยแพะ

28 พ.ย.2558
วันหยุด เตรียมการเรียนการสอน


29 พ.ย.2558
พบกลุ่มนักศึกษา กศน.ตำบลกล้วยแพะ ระดับประถมม.ต้น ม.ปลาย
ต.กล้วยแพะ

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558

วันที่ 21  พฤศจิกายน  2558

    วันหยุด  จัดเตรียมการเรียนการสอนนักศึกษา กศน.ตำบลกล้วยแพะทั้งระดับประถมศึกษา  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2558

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558

วันที่ 20 พฤศจิกายน  2558
         บันทึกของวันที่ 20 พฤศจิกายน  2558  เข้ากศน.เมืองลำปาง นำสมุดบันทึก กรต.ไป กศน.ตำบลกล้วยแพะ เพื่อแจกนักศึกษในวันอาทิตย์ที่พบกลุ่ม  และแก้ไขงานคำรับรองและแผนปฏิบัติประจำปี
ยอดนักศึกษาขั้นพื้นฐาน ยอดกลุ่มอาชีพ กลุ่มสนใจ เศรษฐกิจพอเพียง  งานตามรอยยุคลบาท งานทักษะชีวิต และส่งให้กลุ่มงานแต่ละงานเพื่อรวบรวมนำเสนอในภาพรวม กศน.อำเภอเมืองลำปาง

หัวหน้ากลุ่มจัดฯ ได้ชี้แจงในกิจกรรมต่างๆ เรื่องจำนวนเงินที่จัดสรร

บรรยากาสที่คณะครูกำลังเร่งแก้งานจองตนเองตามที่ได้รับแจ้งงบจัดสรรใหม่
                                 
แก้งานตามที่ได้รับงบจัดสรร